วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขนมไทย


ส่วนผสม

ไข่เป็ด ๑๐ ฟอง
แป้งทองหยอด ๑/๔ ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย ๗ ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกมะลิ ๖ ถ้วยตวง


วิธีทำ
๑. ผสมน้ำ น้ำตาลทราย ตั้งไฟให้เดือดพอเหนียว ตักน้ำเชื่อมขึ้นไว้ สำหรับลอยทองหยอด ที่เหลือตั้งไฟ
ต่อไปให้น้ำเชื่อมเหนียว
๒. แยกไข่แดง ไข่ขาว
๓. ตีไข่แดงให้ขึ้น ค่อยๆใส่แป้งทองหยอดแล้วคนให้เข้ากัน
๔. หยอดไข่ที่ตีแล้วลงในน้ำเชื่อมที่ตั้งอยู่บนไฟ ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาวงเป็นตัวกำหนด ต้องการลูกเล็กหรือใหญ่
่ ตามใจชอบ นิ้วหัวแม่มือจะเป็นนิ้วที่ช่วยรูดแป้งลงที่ปลายนิ้ว แล้วจึงสะบัดไข่ลงในน้ำเชื่อม
๕. เมื่อทองหยอดสุกลอยขึ้น ตักไส่น้ำเชื่อมสำหรับลอย
ความสำคัญของขนมไทย
ขนมไทยของเรานั้น นอกจากจะหอมหวาน กินได้อร่อยแล้ว ก็ยังมีความหมายที่เป็นมงคลอีกด้วย วันนี้ทีมข่าวจะนำเสนอขนมไทยที่มีชื่อเป็นมงคล และความหมายดีๆ ของแต่ละอย่างมาเล่าให้ฟังเริ่มจากขนมไทยที่คุ้นเคยกันดีอย่าง ทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทอง ซึ่งคำว่าทองในชื่อก็เป็นความหมายว่าให้มีทองไหลมาเทมาเหมือนชื่อ โดยเฉพาะฝอยทองที่มักจะใช้ในงานมงคลสมรสนั้น มีเคล็ดว่าห้ามตัด แต่ต้องปล่อยให้เป็นเส้นยาวๆ เพื่อที่ชีวิตสมรสจะได้ยืนยาวต่อไปส่วนเม็ดขนุน ก็มีชื่อเป็นสิริมงคลที่หมายความว่าจะช่วยให้มีคนสนับสนุน หนุนหลังให้กิจการงานต่างๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และขนมชั้นก็เหมาะสำหรับคำอวยพรที่ว่า ขอให้ได้เลื่อนขั้นเลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่ง และถ้าจะให้ดี ขนมชั้นนี้ก็ต้องมี 9 ชั้น จะได้ก้าวหน้า เลื่อนขั้นเร็วๆขนมทองเอก นอกจากชื่อจะเป็นทองแล้ว ก็ยังมีทองคำเปลวติดอยู่บนขนมด้วย ซึ่งคำว่าเอกนั้นแปลว่าที่หนึ่ง การให้ขนมทองเอกนั้นก็เหมือนว่าอวยพรให้เป็นที่หนึ่ง และขนมจ่ามงกุฎ ซึ่งหมายถึงการมีเกียรติสูงสุด เป็นเจ้าคนนายคน ขนมทั้งสองอย่างนี้ก็จะใช้เป็นการแสดงความยินดีที่ได้เลื่อนตำแหน่งและขนมสองอย่างสุดท้ายก็คือ ขนมถ้วยฟู ซึ่งหมายถึงการอวยพรให้มีความเจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟู และขนมเสน่ห์จันทน์ ซึ่งใช้ผลจันทน์ จากต้นจันทน์มาเป็นส่วนผสมให้มีกลิ่นหอม และเชื่อว่าจะทำให้มีเสน่ห์ มีคนรักใคร่ มักจะใช้ในงานมงคลสมรส ทั้งอร่อยทั้งมีความหมายดีๆ แบบนี้ จะเอาไว้กินเองหรือมอบให้เป็นของขวัญในโอกาสต่างๆ ก็ไม่เลวเหมือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น